Search

โควิด - 19 สำรอกขยะทะเลพุ่ง 15% แพนิกอาหารทะเลแช่แข็งปนเปื้อน - ผู้จัดการออนไลน์

kobarberita.blogspot.com

ตัวอย่างภาพเปรียบเทียบไมโครพลาสติกในน้ำ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาการ ช่วงเดือน ส.ค. 2562 ก่อนเกิดเหตุการณ์โควิด - 19 และ เดือน พ.ค. 2563 หลังเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไมโครพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้น
ผู้จัดการสุดสัปดาห์- ระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด - 19) ว่ากันว่าเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง สัตว์น้ำสัตว์ป่ากลับคืนสู่พื้นที่ แต่ดูเหมือน “ทะเลไม่เคยได้หยุดพัก” เมื่อกลุ่มนักวิชาการทางทะเลพบ “ไมโครพลาสติกในน้ำเพิ่มขึ้นชัดเจน”

สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลส่งสัญญาณทวีความรุนแรงยากที่จะควบคุม

รายงานกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุถึงผลพวงจากสถานการณ์โควิด - 19 ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลปริมาณขยะในประเทศไทยโดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีปริมาณเพิ่มขึ้น 15 % เพิ่มขึ้นเป็น 6,300 ตันต่อวัน จากเดิม 5,500 ตันต่อวัน

หน่วยปฏิบัติการต่อต้านขยะทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดยนักวิชาการทางทะเล ผศ.ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมงเก็บตัวอย่างไมโครพลาสติกในน้ำพบเพิ่มขึ้นชัดเจน หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเมืองไทย เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งที่เพิ่มขึ้นมาก กำลังลงไปสู่แม่น้ำและทะเล กลายเป็นไมโครพลาสติก สะสมในสัตว์น้ำ เข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และย้อนกลับมาทำร้ายเรา

ทั้งนี้ ขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นมีทั้งมาจากการส่งอาหารส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงล๊อคดาวน์ ยังไม่ได้นับรวมขยะหน้ากากอนามัยตลอดจนขยะอันตรายทางการแพทย์ทที่มาจากการกักตัวอีกจำนวนไม่น้อย

“ปัญหาหลักของทะเลไทยหลังโควิด ไม่ใช่การท่องเที่ยว แต่กลายเป็นขยะทะเล อย่าลืมว่า 80% ของขยะทะเลมาจากแผ่นดิน มาตามแม่น้ำลำคลอง ไม่ได้เกิดในทะเล” ผศ.ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว

สถานการณ์ขยะในทะเลไม่เพียงเกิดขึ้นในเมืองไทย ข้อมูลที่น่าสนใจ Opération Mer Propre องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลของฝรั่งเศส เปิดเผยว่าการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดมลภาวะในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น ขยะพลาสติกจำนวนมากที่คุกคามชีวิตในทะเล พบขยะโควิด หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง ขวดเจลล้างมือ ลอยอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนปะปนกับขยะทั่วไปเป็นจำนวนมาก

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยอมรับว่าในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 พบว่ามีปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นประมาณ 15% เฉพาะในกรุงเทพฯ มีขยะพลาสติกรวมกับขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเพิ่มขึ้นถึงประมาณวันละ 1,500 ตัน

ทั้งนี้ ตามโรดแมพพการจัดการพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 กำหนดว่าภายในปี 2563 นี้ ประเทศไทยจะต้องลดการใช้กล่องอาหารโฟม หลอด แก้วน้ำพลาสติกแบบบาง ถุงพลาสติกความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอนได้ 50% เพื่อจะได้เลิกใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 2565

อย่างไรก็ตาม ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด - 19 ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดละเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งแล้วในระดับหนึ่ง ทว่า สถานการณ์ขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ย่อมให้ให้โร้ดแมพพการจัดการพลาสติกล่าช้าออกไป

 อาหารทะเลแช่แข็งนำเข้าจากต่างประเทศมีความเสี่ยงสูงในการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
พร้อมกันนี้ยังเกิดประเด็นที่น่ากังวลเกี่ยวกับ “การปนเปื้อนเชื้อโควิด – 19 ในอาหารทะเล”  โดยทางการจีนตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เขียงปลาแซลมอน นำเข้าจากเดนมาร์ก บริเวณตลาดซินฟาตี้ แหล่งอาหารทะเลจิงเสิ่นในเขตเฟิงไถ่ของกรุงปักกิ่ง ตลอดจนมีการสุ่มตรวจอาหารทะเลแช่แข็ง นำเข้าจากต่างประเทศแล้วนับแสนตัวอย่าง กระทั่งพบเชื้อโควิด-19 ในกุ้งแช่แข็งจากเอกวาดอร์

กระทั่ง ทางการจีนประกาศระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์จาก 23 โรงงานในหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐฯ บราซิล และเยอรมนี โดยประเมินว่าโรงงานเหล่านี้อาจมีแรงงานป่วยโควิด-19 ทำงานอยู่มีความเป็นไปได้สูงว่าอาจจะมีเชื้อปนเปื้อนหลุดลอดมายังประเทศจีนดังเช่นกรณีที่ผ่านมา

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของทางการจีนระบุถึงผลการตรวจสอบพบการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในแหล่งค้าอาหารทะเลแห่งใหญ่ดังกล่าว ตั้งสมมติฐานว่าอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื้อไวรัสเติบโตได้ดีและอยู่ได้นาน แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าเชื้อไวรัสที่ปนเปือนในอาหารทะเลแช่แข็งเหล่านี้จะเป็นต้นตอการแพร่ระบาดหรือไม่

เรียกว่าสถานการณ์ดังกล่าวสร้างเกิดควาปริวิตกไปทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในในเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ให้ข้อมูลความรู้ประชาชนเกี่ยวกับประเด็น “โควิด-19 กับอาหารแช่แข็ง” ความว่า

“การระบาดโควิด-19 ในจีนเกี่ยวข้องกับตลาดตั้งแต่เริ่มต้นที่อู่ฮั่น การระบาดในปักกิ่ง และการระบาดที่ ต้าเหลียน (Dalian) มณฑลเหลียวนิง Liaoning การระบาดที่อู่ฮั่น ก็เป็นตลาดค้าของสด อาหารทะเล และสัตว์มีชีวิต การระบาดที่ปักกิ่ง ตลาดซินฟาดี มีการพบเชื้อที่เขียงปลาแซลมอน นำเข้าจากเดนมาร์ก การระบาดล่าสุดตลาดที่ต้าเหลียนก็มีการพบเชื้อที่กุ้ง ที่ส่งมาจาก เอกวาดอร์ ทำให้ทางการจีนต้องระดมเชิงรุกตรวจทั้งสิ่งแวดล้อม และคนเป็นแสนราย เพื่อป้องกันการระบาด การศึกษาพันธุกรรมสายพันธุ์ไวรัสจะบอกต้นตอแหล่งที่มาได้ดี แต่ไม่เห็นข้อมูลดังกล่าว

“ข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้เป็นข้อเตือนใจการซื้ออาหารแช่แข็ง โดยเฉพาะที่มาจากต่างประเทศ การจับต้อง การเตรียมอาหารจะต้องล้างมือให้สะอาด ไม่จับต้องใบหน้า ระวังสัมผัสกับอาหารอื่น ควรบริโภคสุก ป้องกันไว้ก่อนเพื่อกันการระบาด เชื้ออาจจะมากับอาหารแช่แข็ง และเชื้อจะอยู่ได้ตลอดการแช่แข็ง” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ระบุ

ต้องยอมรับว่าประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้คนออกอาการแพนิค (Panic) เกิดความวิตกกังวลเสทือนตลาดอาหารทะเลแช่เยือกแข็งในเมืองไทย อ้างอิงข้อมูลกรมศุลกากร เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่เยือกแข็งแปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป ระบุว่า ในช่วงครึ่งปีแรกปี 2563 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 39,821 ล้านบาท ลดลง 22.25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการนำเข้าจากจีนเป็นอันดับหนึ่ง สัดส่วน 10.54% มีมูลค่าการนำเข้า 4,197 ล้านบาท

แม้กระบวนการนำเข้าจะเป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่โจทย์ใหญ่คือจะสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้อย่างไร ว่าสินค้าจำพวกอาหารทะเลแช่แข็งที่นำเข้าจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีความปลอดภัย ต้องไม่ลืมว่า “เชื้อไวรัสอาจจะมากับอาหารแช่แข็ง อยู่ได้ตลอดการแช่แข็ง”

ย้อนกลับไปที่ข้อเสนอแนะของ “ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ” ย้ำอีกครั้งว่า “หากซื้ออาหารแช่แข็งนำเข้า การเตรียมอาหารจะต้องล้างมือให้สะอาด ไม่จับต้องใบหน้า ระวังสัมผัสกับอาหารอื่น ควรบริโภคสุก ป้องกันไว้ก่อนเพื่อกันการระบาด”

Let's block ads! (Why?)



"อาหารทะเล" - Google News
August 08, 2020 at 06:03AM
https://ift.tt/3ikVMj7

โควิด - 19 สำรอกขยะทะเลพุ่ง 15% แพนิกอาหารทะเลแช่แข็งปนเปื้อน - ผู้จัดการออนไลน์
"อาหารทะเล" - Google News
https://ift.tt/2yUZcrI


Bagikan Berita Ini

0 Response to "โควิด - 19 สำรอกขยะทะเลพุ่ง 15% แพนิกอาหารทะเลแช่แข็งปนเปื้อน - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.